สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ดูธนบัตรว่าปลอมหรือไม่

ดูธนบัตรว่าปลอมหรือไม่

จุดสังเกตในธนบัตรรัฐบาล

 

 

สัมผัส  :   คุณสมบัติของกระดาษและลวดลายเส้นนูน

กระดาษธนบัตร

          ธนบัตรรัฐบาลทำจากกระดาษที่มีใยฝ้ายเป็นส่วนประกอบหลัก จึงมีความแกร่ง ทนทาน และไม่ยุ่ยง่าย เมื่อจับสัมผัสจะให้ความรู้สึกแตกต่างจากกระดาษทั่วไป ธนบัตรปลอมทำจากกระดาษคุณภาพต่ำ เมื่อถูกใช้เปลี่ยนมือเพียงไม่กี่ครั้งเนื้อกระดาษก็จะนิ่มเป็นขุยและยุ่ยง่าย

  

     

ดอกฝ้าย : วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตกระดาษธนบัตร

เมื่อจับสัมผัสจะรู้สึกถึงความแกร่งของเนื้อกระดาษ 


 

ลวดลายเส้นนูน

          เกิดจากการพิมพ์เส้นนูนโดยใช้แม่พิมพ์ที่มีร่องหมึกลึกและใช้แรงกดพิมพ์สูงหมึกพิมพ์จึงนูนขึ้นมาจากเนื้อกระดาษ อีกทั้งภาพและลายเส้นที่ได้จะมีรายละเอียดคมชัด เหมาะสำหรับการพิมพ์ภาพประธาน เช่น พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ หรือส่วนที่ต้องการเน้นให้เด่นชัด  ลวดลายเส้นนูนสามารถสัมผัสและรู้สึกได้ที่ตัวเลขแจ้งชนิดราคามุมขวาบน ตัวอักษรคำว่า รัฐบาลไทย ตัวอักษรและตัวเลขไทยแจ้งชนิดราคาด้านหน้าธนบัตร เมื่อใช้ปลายนิ้วมือลูบสัมผัสบริเวณดังกล่าว จะรู้สึกถึงการนูนของหมึกพิมพ์มากกว่าบริเวณอื่น

  



พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ที่เกิดจากการพิมพ์เส้นนูน จะมีลายเส้นละเอียดคมชัด



ภาพขยายลวดลายเส้นนูน



เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือจะรู้สึกถึงการนูนของหมึกพิมพ์

ยกส่อง  :   สังเกตสิ่งที่อยู่ในเนื้อกระดาษและลวดลายซ้อนทับ

แถบสีโลหะในเนื้อกระดาษ

          ธนบัตรรัฐบาลทุกชนิดราคามีแถบสีโลหะฝังในเนื้อกระดาษตามแนวตั้งบนแถบมีตัวเลขและตัวอักษรโปร่งแสงขนาดเล็กแจ้งชนิดราคาธนบัตรสามารถมองเห็นและอ่านได้ทั้งสองด้านเมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่าง

 

 

          สำหรับธนบัตรชนิดราคา ๕๐๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท จะมีบางส่วนของแถบสีโลหะปรากฎให้เห็นเป็นระยะ ๆ ที่ด้านหลังของธนบัตร เมื่อยกขึ้นส่องดูกับแสงสว่างจะเห็นเป็นเส้นต่อเนื่อง มีตัวเลขและอักษรโปร่งแสงขนาดเล็กแจ้งชนิดราคาธนบัตรเช่นเดียวกัน

ภาพขยายตัวเลขและอักษรโปร่งแสงบนแถบสีโลหะในเนื้อกระดาษธนบัตรชนิดราคา ๕๐๐ บาท
และ ๑๐๐๐ บาท

      
ภาพซ้อนทับ

          เกิดจากการพิมพ์สีพื้นด้วยเครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ภาพได้ทั้งสองด้านในเวลาเดียวกัน ทำให้ส่วนของลวดลายที่ออกแบบไว้ในตำแหน่งตรงกันของด้านหน้าและด้านหลังธนบัตรทับกันสนิทหรือประกอบกันขึ้นเป็นลวดลายหรือภาพที่สมบูรณ์

 


เมื่อส่องกับแสงสว่างลวดลายทั้งสองด้านจะซ้อนทับกันเป็นเลข 100 ที่สมบูรณ์


เมื่อส่องกับแสงสว่างลวดลายทั้งสองด้านจะซ้อนทับกันเป็นรูปดอกพุดตานที่สมบูรณ์


เมื่อส่องกับแสงสว่างลวดลายทั้งสองด้านจะซ้อนทับกันเป็นรูปดอกบัวที่สมบูรณ์

พลิกเอียง :   สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

หมึกพิมพ์พิเศษสลับสี

           ที่ตัวเลขแจ้งราคามุมขวาบนของธนบัตรชนิดราคา ๕๐๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท พิมพ์ด้วยหมึกชนิดพิเศษ เมื่อพลิกธนบัตรไปมาสีของตัวเลข 500 จะเปลี่ยนสลับจากสีเขียวเป็นสีม่วง ส่วนสีของตัวเลข 1000 ด้านบนจะเปลี่ยนสลับจากสีทองเป็นสีเขียว

 

แถบฟอยล์สีเงิน

         ผนึกอยู่บนด้านหน้าเบื้องซ้ายของธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐ บาท  ๕๐๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท จะมองเห็นเป็นหลายมิติแตกต่างกันตามชนิดราคา และจะเปลี่ยนสีสะท้อนแสงวาววับ เมื่อพลิกเอียงธนบัตรไปมา

 

ตัวเลขแฝง

        ซ่อนอยู่ในลายประดิษฐ์มุมล่างซ้ายของธนบัตรทุกชนิดราคา เมื่อยกธนบัตรเอียงเข้าหาแสงสว่างและมองผ่านจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางธนบัตรในมุมที่เหมาะสม จะเห็นตัวเลขอารบิกแจ้งชนิดราคาธนบัตรฉบับนั้น

 

ธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท แบบ ๑๕ (ไม่มีแถบฟอยล์)

 

ธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท แบบ ๑๕ ปรับปรุง (มีแถบฟอยล์)

 

ธนบัตรชนิดราคา ๕๐๐ บาท แบบ ๑๕

 

ธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐ บาท แบบ ๑๕

 

ธนบัตรชนิดราคา ๕๐ บาท แบบ ๑๕

 

ธนบัตรชนิดราคา ๒๐ บาท แบบ ๑๕

 

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

view